ตัวแปร แบ่งได้ 4 เกณฑ์ ดังนี้
1. พิจารณาค่าตัวแปรว่าทำเป็นปริมาณได้หรือไม่ได้ จากเกณฑ์นี้สามารถแบ่งตัวแปรออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตัวแปรเชิงปริมาณและตัวแปรเชิงคุณภาพ
1.1 ตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative variables) หมายถึงคุณสมบัติของตัวแปรที่สามารถเอาตัวเลขเข้าไปแทนค่าได้และมีความหมายในเชิงเปรียบเทียบมากกว่า น้อยกว่าได้ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ค่าของตัวแปรจะวัดออกมาเป็นคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนได้ เช่น 50, 55, 60, 65, 72, 81,… ซึ่งคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนสามารถเปรียบความมากกว่าน้อยกว่ากันได้
1.2 ตัวแปรเชิงคุณภาพ(Qualiative variables) หมายถึงคุณสมบัติของตัวแปรที่มีค่าแปรเปลี่ยนในทางคุณลักษณะหรือคุณภาพจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง จากสถานการณ์หนึ่งไปยังอีกสถานการณ์หนึ่ง หรืออีกเวลาหนึ่งไปยังอีกเวลาหนึ่ง โดยมีการแปรค่าจากคุณภาพหนึ่งไปยังคุณภาพหนึ่ง เช่น เพศ การอบรมเลี้ยวดู เทคนิคการสอน
2. พิจารณาคุณสมบัติของตัวแปรว่ามีความต่อเนื่องหรือไม่ จากเกณฑ์นี้สามารถแบ่งตัวแปรออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตัวแปรต่อเนื่อง และตัวแปรไม่ต่อเนื่อง
2.1 ตัวแปรต่อเนื่อง (Continuous variables) หมายถึง ตัวแปรที่สามารถแปรค่าได้ต่อเนื่องกันภายในช่วงใดช่วงหนึ่งหรือสามารถมีค่าเป็นเลขทศนิยมได้ และสามารถแสดงลําดับที่ได้คือ ค่าที่มากกว่าแสดงว่ามีคุณสมบัติของตัวแปรมากกว่าค่าที่น้อยกว่า เช่น ความสูง นํ้าหนัก ราคาสินค้า ความถนัด สติปัญญา ผลการเรียน ซึ่งตัวแปรเหล่านี้สามารถมีค่าเป็นเลขทศนิยมได้ เช่น ความสูง 175.8 ซม. นํ้าหนัก 15.5 ก.ก.
2.2 ตัวแปรไม่ต่อเนื่อง (Discreat variables) หมายถึง ตัวแปรที่แปรค่าอย่างไม่ต่อเนื่อง จะแปรค่าเป็นไปตามรายการคุณสมบัติของตัวแปรในแต่ละรายการหรือไม่สามารถมีค่าเป็นทศนิยมได้ เช่น จํานวนคน จํานวนโต๊ะ จํานวนเก้าอี้ เป็นต้น ซึ่งไม่สามารถมีค่าเป็นเลขทศนิยมได้ เพราะจะไม่มีความหมาย เช่น โรงเรียนนี้มีครูจํานวน 20.4 คน หรือมีโต๊ะจํานวน 55.75 ตัว ซึ่งไม่มีความหมาย
3. พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในเชิงเหตุผล จากเกณฑ์นี้สามารถแบ่งตัวแปรออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรแทรกซ้อนหรือตัวแปรเกิน และตัวแปรสื่อกลาง
3.1 ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (Independent variables) หมายถึงตัวแปรที่เป็นสาเหตุทําให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาที่ผู้วิจัยสนใจจะศึกษา
3.2 ตัวแปรตาม (Dependent variables) หมายถึงตัวแปรที่เป็นผลอันเกิดจากตัวแปรอิสระ เช่น ผลการเรียน
3.3 ตัวแปรแทรกซ้อนหรือตัวแปรเกิน (Extraneous variables) หมายถึงตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้นอื่น ๆ ที่เราไม่ต้องการให้เป็นเหตุให้เกิดผลหรือตัวแปรตามหรือเป็นตัวแปรที่เราไม่ต้องการทราบผลที่เกิดขึ้น
3.4 ตัวแปรสื่อกลาง (Interveining variables)หมายถึงตัวแปรที่เกิดขึ้นระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม หรือตัวแปรที่เป็นสื่อกลาง เชื่อมโยงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม
4. พิจารณาการกระทำของผู้วิจัยว่าสามารถกำหนดตัวแปรให้กับกลุ่มตัวอย่างได้หรือไม่ จากเกณฑ์นี้สามารถแบ่งตัวแปรออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตัวแปรทดลองหรือตัวแปรจัดกระทำ และตัวแปรคุณลักษณะ
4.1 ตัวแปรทดลองหรือตัวแปรจัดกระทํา (Experimental variables or active variables or treatment variables) หมายถึง ตัวแปรที่ผู้วิจัยสามารถกําหนดหรือจัดกระทําให้กับกลุ่มตัวอย่างได้ เช่น วิธีการออกกําลังกาย วิธีการสอน เป็นต้น ตัวแปรประเภทนี้จะมีประโยชน์ในการวางแผนสร้างตัวแปรทดลองสําหรับการวิจัย ต่อไป
4.2 ตัวแปรคุณลักษณะ (Attribute Variables) หมายถึง ตัวแปรที่ผู้วิจัยไม่สามารถ จะกําหนดให้กับกลุ่มตัวอย่างหรือกําหนดให้ด้วยความอยากลําบาก ตัวแปรประเภทนี้มักจะกําหนดโดยธรรมชาติ เช่น เพศ อายุ อาชีพ ที่อยู่อาศัย
อ้างอิง
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/399242
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/401912
อ้างอิง
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/399242
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/401912