การวิจัยกึ่งทดลอง คือ การค้นคว้าหาความจริงที่มุ่งอธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรโดยมีการจัดกระทำ(Manipulation) กับตัวแปรอิสระภายใต้เงื่อนไขที่ผู้วิจัยจัดขึ้น แล้วติดตามผล การเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตาม โดยไม่มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง (randomization) และ/หรือ การควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน( control extraneous variables) จึงไม่สามารถบอกความเป็นเหตุเป็นผลได้ชัดเจนเหมือนการวิจัยเชิงทดลองจริง แต่มีความยืดหยุ่นและเป็นธรรมชาติมากกว่า วิจัยประเภทนี้จึงมีความตรงภายนอก คือการนำผลวิจัยไปอ้างอิงสู่ประชากร ได้มากกว่าวิจัยทดลองจริง
จุดมุ่งหมายของการวิจัยกึ่งทดลอง
1. เพื่อหาความสัมพันธ์ตามประจักษ์ การทำการทดลองมักจะเริ่มจากความอยากรู้อยากเห็นของผู้วิจัยว่า ถ้าเปลี่ยนค่าตัวแปรนี้แล้ว ผลที่เกิดตามมาจะเป็นอย่างไร ผู้วิจัยยังไม่มีทฤษฎีที่จะนำมาใช้พยากรณ์ผลที่เกิดขึ้นอย่างแน่ชัด จึงต้องการทดสอบสมมุติฐานในประเด็นที่สนใจ เมื่อทำการศึกษาด้วยการทดลอง ผลการทดลองก็จะสามารถบอกถึงความสัมพันธ์ตามประจักษ์ได้
2. เพื่อตรวจสอบทฤษฎี โดยปรกติทฤษฎีมักจะอยู่ในรูปของประโยคว่าถ้าเกิด A แล้วจะเกิด B ตามมาในการตรวจสอบทฤษฎีนี้ ถ้าจะทำให้ถูกต้องแล้ว จะต้องรอให้เหตุการณ์ A เกิดขึ้นก่อน แล้วดูผลว่าเกิดเช่นนั้นตามที่กล่าวไว้ในทฤษฎีหรือไม่ แต่การเฝ้าติดตามผลอาจใช้เวลานาน หรืออาจมีตัวแปรแทรกซ้อนอื่นๆตามมา การตรวจสอบทฤษฎีจึงนิยมกระทำด้วยการทดลอง โดยการสร้างสถานการณ์ A ให้เกิดขึ้นและควบคุมสิ่งแทรกซ้อนอื่น ๆ ให้หมดไป แล้วสังเกตผลที่เกิดขึ้นว่าตรงกับคำพยากรณ์ของทฤษฎีหรือไม่ วิธีการทดลอง จึงเป็นวิธีที่สะดวกในการตรวจสอบทฤษฎี
ข้อดีและข้อจำกัดของวิจัย กึ่งทดลอง
การวิจัยกึ่งทดลอง เป็นวิจัยที่สามารถอธิบายความเป็นเหตุเป็นผลของตัวแปรได้มากกว่าวิจัยไม่ทดลอง จึงพบว่าการวิจัยประเภทนี้มีความตรงภายในค่อนข้างสูง (Internal Validity) แต่ในสภาพความเป็นจริงตามธรรมชาติการวิจัยกึ่งทดลองอาจจะมีข้อจำกัดในการนำผลการวิจัยไปใช้ สรุปข้อดีและข้อจำกัดของวิจัย กึ่งทดลองมีดังนี้
ข้อดี | ข้อจำกัด |
ทำได้ง่ายเป็นไปในทางปฏิบัติได้มากกว่าวิจัยทดลองจริง | มีปัญหาการจัดกระทำกับตัวแปรอิสระ |
การนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าวิจัยทดลองจริง | ไม่เป็นไปตามธรรมชาติอาจจะมีข้อจำกัดในการนำไปใช้ |
สามารถบอกความเป็นเป็นผลได้มากกว่าวิจัยไม่ทดลอง | อาจจะเกิดผลด้านจริยธรรม |
สรุป วิจัยกึ่งทดลอง เป็นการวิจัยที่มุ่งอธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรโดยมีการจัดกระทำกับตัวแปรอิสระภายใต้เงื่อนไขที่ผู้วิจัยจัดขึ้น แล้วติดตามผล การเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตาม โดยไม่มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง และ/หรือ การควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนจึงไม่สามารถบอกความเป็นเหตุเป็นผลได้ชัดเจนเหมือนการวิจัยเชิงทดลองจริง แต่มีความยืดหยุ่นและเป็นธรรมชาติมากกว่า เพื่อให้การสรุปผลวิจัยเป็นไปอย่างถูกต้อง ในการออกแบบการวิจัยจึงต้องคำนึงถึงหลักการของ “ The Max Min Con Principle” ให้มากที่สุด รูปแบบของการวิจัยกึ่งทดลองมีหลายประเภท ผู้วิจัยควรเลือกใช้ให้สอดคล้องกับปัญหาการวิจัยและบริบทของกลุ่มตัวอย่าง นอกจากนี้การวิจัยกึ่งทดลองส่วนใหญ่เป็นการจัดกระทำกับมนุษย์ ซึ่งอาจส่งผลทางด้านจิตใจ ร่างกาย หรือพฤติกรรมของบุคคลที่ได้รับการทดลอง ดังนั้นจึงเสี่ยงต่อการล่วงละเมิดจริยธรรมในการวิจัย (research ethics) นักวิจัยจึงควรตระหนักในประเด็นเหล่านี้ด้วย
หลักการควบคุมความแปรปรวน (Max Min Con Principle)
1. ทำให้ความแปรปรวนของตัวแปรตามอันเป็นผลเนื่องมากจากตัวแปรต้น หรือตัวแปรที่สนใจมีค่ามากที่สุด (Maximize Systematic Variance) ทำได้โดยเลือกตัวแปรต้นให้มีความ แตกต่างกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น จะทดลองเปรียบเทียบวิธีการสอน วิธีการสอนทั้งสองนั้นจะต้องมีความแตกต่างกันผู้วิจัยคาดหวังว่าจากการสอนด้วยวิธีสอนสองวิธีนั้น จะให้ผลแตกต่างกัน เหตุผลที่ต้องพยายามทำให้ความแปรปรวนอันเป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรต้นมีค่ามาก ที่สุด เพราะว่าจะทำให้ผลสรุป ที่ได้มีความชัดเจน กล่าวคือ ถ้าพบความแตกต่างระหว่างตัวแปรตามจะสรุปได้ว่ าเป็นผลเนื่องมาจากความแตกต่างระหว่างตัวแปรต้น นั่นเอง
2. ทำให้ความแปรปรวนของตัวแปรตามอันเป็นผลเนื่องมาจากความคลาดเคลื่อนต่าง ๆ
มีค่าน้อยที่สุด (Minimize error Variance) ความคลาดเคลื่อนต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นจากความแตกต่างระหว่างบุคคล ความไม่คงที่ของสมาชิกในกลุ่มตัวอย่างแต่ละคน เช่น ในการทดลองเกี่ยวกับวิธีการสอน ใช้ครูคนเดียวกันในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล การลดค่าความแปรปรวนที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนต่าง ๆ นั้นทำได้โดยปรับปรุงคุณภาพของเครื่องมือให้มีความตรง (Validity) และความเที่ยง (Reliability) ให้สูง และพยายามเพิ่มความแม่นยำในการบันทึกรวบรวมข้อมูล
3. ควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรตามอันเป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรเกินให้มีค่า ต่ำสุด (Control extraneous Systematic Variance) ซึ่งทำได้โดยพยายามควบคุมหรือกำจัด ตัวแปรเกินต่าง ๆ ออกไปจากงานวิจัยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
2. ทำให้ความแปรปรวนของตัวแปรตามอันเป็นผลเนื่องมาจากความคลาดเคลื่อนต่าง ๆ
มีค่าน้อยที่สุด (Minimize error Variance) ความคลาดเคลื่อนต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นจากความแตกต่างระหว่างบุคคล ความไม่คงที่ของสมาชิกในกลุ่มตัวอย่างแต่ละคน เช่น ในการทดลองเกี่ยวกับวิธีการสอน ใช้ครูคนเดียวกันในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล การลดค่าความแปรปรวนที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนต่าง ๆ นั้นทำได้โดยปรับปรุงคุณภาพของเครื่องมือให้มีความตรง (Validity) และความเที่ยง (Reliability) ให้สูง และพยายามเพิ่มความแม่นยำในการบันทึกรวบรวมข้อมูล
3. ควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรตามอันเป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรเกินให้มีค่า ต่ำสุด (Control extraneous Systematic Variance) ซึ่งทำได้โดยพยายามควบคุมหรือกำจัด ตัวแปรเกินต่าง ๆ ออกไปจากงานวิจัยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
อ้างอิง
netra.lpru.ac.th/~phaitoon/1research3/qua-si.doc